วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2558

Momentum (Monthly Rotational System) part 2

Momentum (Monthly Rotational System) part 2

(ต่อจาก part 1)
เรามาต่อกันดีกว่า อย่าไปเครียดอะไรกับมันมากเลย ทำกำไรไม่ได้ก็คือไม่ได้  คิดซะว่ามันไม่ใช่ที่ของเรา เราควบคุม anomaly ไม่ได้ เราแค่ต้องค้นหา anomaly อื่นต่อไป ถ้าหาไม่เจอก็อย่าเครียด ทำงานหาเงินแบบคนทั่วไปเนี่ยแหละ พอเพียง ชีวิตก็สุขแล้ว

จากที่สถิติข้างต้นในตอนที่แล้ว ปัญหาของเราตอนนี้คือ เราต้องเผชิญหน้ากับตลาด 94.26 % แสดงว่าทุกๆวันเงินเราจะออกรบอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 94.26% ของเวลากว่า 25 ปี ทั้งเหตุการณ์หุ้นขึ้น หุ้นลง จิตตก ทำให้เราจะต้องเจอ Drawdown ระดับ 73.73% ก็พอดีฆ่าตัวตาย...

ต่อไปนี้จะซับซ้อนขึ้นมาอีกเล็กน้อย ผมจะเสนอวิธีการ Timing filter คือเราจะกรองเวลาที่ต้องอยู่ในตลาดหลักทรัพย์บางส่วนออกไป ง่ายๆก็คือ นำ index SET มากรองก็ได้ เช่น SET ยืนเหนือ Moving average ก็ถึงจะซื้อหุ้นได้ ถ้า SET อยู่ใต้ moveing average ก็ห้ามซื้อ แต่....มันจะมโนยกเมฆไปหน่อย

 ผมจะเริ่มจากศูนย์ก่อน ว่าทำไมที่มาที่ไปของ Timing filter จึงได้ผล เรามาลอง plot กราฟ ดูความสัมพันธ์ของระบบข้างต้นในตอนที่แล้วมาเปรียบเทียบกับ Index อ้างอิง โดยนำค่าการเปลี่ยนแปลงรายวันของเงินลงทุนในระบบอันนี้ เทียบกับการเปลี่ยนแปลงรายวันของ SET Index(ผมว่ามันสากลดี ใช้ง่าย ไม่ต้องคิดเอง)

ผมลองใช้ Periodic Daily Return (PDR) เป็นตัวคำนวนอัตราการเปลี่ยนแปลงรายวัน ( Logarithm แทนวิธีคำนวนแบบ linear) ที่เคยเกริ่นสั้นๆในตอนที่แล้วเพื่อความสมจริงยิ่งขึ้น


เราคำนวนค่า correlation ได้ ราวๆ  0.733128 แสดงว่าการเปลี่ยนแปลงรายวันของ SET กับ Port ของเรา แทบจะวิ่งไปทางเดียวกันเลยทีเดียว สังเกตุจาก coefficient หรือค่าความชัน 0.497 เรียกได้ว่าแทบจะทำมุม 45 องศา SET เปลี่ยน 1% Port เราก็จะวิ่งไป 1%

คิดตามนะครับ... วิเคราะห์ต่อได้ว่า นี่จริงๆแล้วถ้าหากว่าเราสามารถกรองช่วงที่ SET ลง ออกไปได้ Port เราก็จะมีความเสี่ยงต่อการเสียเงินน้อยลงด้วย แล้วยังลดการเผชิญหน้าต่อตลาดน้อยลงด้วยเป็นเงาตามตัว แสดงว่าเราน่าจะพบกับ Drawdown น้อยลง เราก็น่าจะมีเงินปลายทางเยอะขึ้น กำไรน่าจะดีขึ้น ....ประโยคนี้ก็จะกลายมาเป็น สมมติฐาน ....ต่อไปเราก็จะพิสูจน์

ผมก็ต้องเพิ่มตัวกรองง่ายๆ อย่างที่เรามโนไว้ข้างต้น (เราจะเลือกใช้อะไรก็ได้) แต่ในที่นี้ผมชอบ moving average โดยเราจะ ใช้ SET index กับ Moving average 20 วัน(1 เดือนพอดีๆ) โดยเราจะซื้อหุ้นเฉพาะช่วงที่ SET index ยืนอยู่เหนือ MA 20 วันของตัวมันเอง หาก SET อยู่ใต้  MA 20 วันก็ไม่ซื้อในเดือนนั้นๆ (ถ้าระหว่างเดือนถือหุ้นอยู่ แล้วกลางเดือนเกิด SET index หลุด MA 20 วันลงมา จะไม่ขายทิ้งนะครับ หลักการขายจะยังเหมือนเดิม ขายสิ้นเดือนเท่านั้น...) ข้อกำหนดทุกอย่างเหมือนเดิม เรามาดูผลกันว่าจะเป็นไปตามสมมติฐานกันหรือไม่ ถ้าไม่ผมก็จะหาเหตุผลต่อว่าทำไม correlation ที่วิ่งตามกันแบบนี้ มันเกิดจากปัจจัยอะไรกันแน่














จากสถิตินี้ เริ่มต้นลงทุน 1 ล้านบาท 25 ปีผ่านไป จะโตเป็นเงิน 330.76 ล้านบาท (เทียบกับของเดิม 158.9 ล้านบาท)  (หักค่า comแล้ว 25.07 ล้านบาท)

มีอัตราทบต้นที่ 26.11%ต่อปี (เทียบกับ 22.47% ต่อปี  )
MaxDrawdown เงินทุนตกต่ำสุดที่ -47.92% (เทียบกับ -73.73%)

โดยซื้อ-ขายหุ้นเหลือเพียง 6420 ครั้ง (เทียบกับ 10516 ครั้ง) คิดเป็นจำนวนหุ้นที่กำไร 49.41% (เทียบกับ 46.55%) และ หุ้นที่ขายขาดทุน 50.59% (เทียบกับ 53.45%) (ดีขึ้นนึดนึง ใกล้เคียงโยนหัวก้อยเหมือนเดิม)

Payoff ดูมีค่าที่น่าสนใจมากขึ้นที่ 2.25 เท่า กำไรไม่ค่อยเปลี่ยน แต่ ขาดทุนเฉลี่ยน้อยลงเหลือ -10.66% (เทียบกับ 12.28%)

สรุปคือ เราก็สามารถลด การอยู่ในตลาดได้เหลือ 54.14% ถือว่าดีมาก (ส่วนตัว  ผมถือว่าการ exposure ตลาดเยอะๆไม่เป็นผลดี เพราะ ตลาด=ความผันผวน อยู่ในตลาดนาน = เพิ่มความผันผวนในชีวิต = เครียด ระบบที่ดีคือระบบที่ต้องหนีตลาดได้ดี หรือหนีความผันผวนได้ดี)

ทั้งหมดก็เป็น idea ที่น่าจะช่วยฉุดความคิดใหม่ๆนะครับ จริงๆเราจะประยุกติ์เพิ่มเติมได้อีกมากมายตามแต่จินตนาการ แค่เราต้องคิดสมมติฐาน แล้วก็ทดสอบมัน บนเหตุผล ผมแนะให้ว่า ปัจจัยอะไรที่ใส่เข้าไปในระบบแล้วได้ผลดีโดยหาเหตุผลมารองรับไม่ได้ แสดงว่านั่นอาจจะเป็น market anomaly หรือมันเป็นแค่ความผิดพลาดทางการ backtest

ลองมาประยุกติ์ต่ออีกนิดนึงแถมให้ละกันครับ  เรื่องการ cut loss สมมติเราซื้อหุ้นไปแล้วมันดันผิดทาง แทนที่เราจะถือไปจนสิ้นเดือน เราตัดขาดทุนมันซะตรงนั้นเลย จะช่วยลดความตึงเครียดไปได้เยอะทีเดียว โดยผมจะใช้ระบบที่ใช้ SET index filter ข้างต้นนี้เหมือนเดิม เพียงแต่เพิ่มการ cut loss เข้าไปอีก โดยที่หากซื้อไปแล้ว ราคาหุ้นตกลงต่ำกว่าตอนเข้าซื้อมากกว่า 10% ผมก็จะขายในวันรุ่งขึ้นที่ราคา open ทันทีครับ ผลที่ได้






Drawdown น้อยลง เหลือ 38.31% กราฟ equity ดู smooth ขึ้น payoff ratio ดีขึ้นเป็น 2.50 เท่า .... หรือเราจะลองเปลี่ยนเป็น trailing stop ดู หรือเราจะลองใช้ EMA 10 วันแทน เราจะลอง optimize ค่าที่ดีทีสุดก็ได้ หรือจะลองใช้ RSI ของ SET ดู หรือจะเพิ่ม market cap ดู หรือจะเพิ่ม Vol เป็นตัวกรองสภาพคล่องอีกที ....มันก็ต้องลอง แค่นั้นเอง

ก่อนจบเรามาดูกันดีกว่าถ้านำมาใช้เมื่อต้นปีนี้(2015) จนถึงวันนี้ (04/09/2015) จะเป็นยังไง เงินเริ่มต้น 1 ล้านบาท






สังเกตุว่าตลาดหุ้นในปีนี้เป็น Downtrend มันก็หนีได้ดีพอสมควร ช่วงเรียบๆในกราฟ ก็จะไม่มีการลงทุนใดๆ เป็นการถือเงินสดรอโอกาส  DD ก็นิดเดียว 5.79% เท่านั้นเอง  (ปัจจุบัน DD -3.13% เท่านั้นเอง) แถมตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันนี้ก็ยังเก็บกำไรมาได้ 5.33% ไม่เลวทีเดียวสำหรับขาลง  

ทีนี้ต่อไปก็ลองเอาไปประยุกติ์กับพื้นฐานของหุ้น เราจะได้เลือกหุ้นได้ดีขึ้น หุ้นที่มีอนาคต ผลประกอบการไปวัดไปวาได้ แล้วก็เอา momentum นี้มาจับ  ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ ลงทุนมีกำไรกันทุกคน ประเทศจะได้มีกำลังซื้อเยอะขึ้น ได้เงินมาก็เอาไปใช้จ่ายตามร้านค้านะ ร้านค้าก็มีเงินเยอะขึ้น เค้าก็ไปซื้อวัตถุดิบมากขึ้น  สินค้าราคาส่งก็ขายดีขึ้น  รากหญ้าก็มีเงินเยอะขึ้น นักลงทุนก็มาลงทุนเพิ่ม  ประเทศก็สวยงาม  เปิด AEC ก็ไปแข่งกับเค้าต่อ...

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

Momentum (Monthly Rotational System) part 1

Downtrend นี้ช่างยืดเยื้อ เอางานที่เคยวิจัยมาเขียน จริงๆเขียนไว้นานแล้ว ว่าจะลงๆ ก็ไม่ได้ลงซะที  ช่วงเงียบเหงาแบบนี้แหละ ^ ^  มาดูทฤษฎีที่น่าสนใจกันดีกว่า เก่าแก่ แต่ก็ยังเก๋าเกม  เห็นเราโพส review of the month ที่ดูๆไปอาจจะไม่มีอะไรหวือหวา บางคนอาจจะคิดว่ามันใช้ประโยชน์อะไรไม่เห็นได้เลย   เราเลยขอแชร์ความรู้ ที่มาที่ไปว่าทำไมเรามานั่งดูทุกเดือน และให้ความสำคัญกับ ROC (Rate of Change) ที่มาของตารางเรียงอันดับหุ้นแค่รูปเดียวต่อเดือน  แต่เบื้องหลังนั้นลึกซึ้ง

Monthly Rotational System


Momentum แปลพจนานุกรม = แรงผลักดัน แรงกระตุ้น 
ในทางฟิสิกส์นั้นอธิบายถึงปริมาณการเคลื่อนที่ของวัตถุหรือระบบ วัดได้จากมวลของวัตถุกับความเร็วของมัน 
จริงๆมันไม่มีอะไรมากเลย มันเป็นแค่หน่วยวัดหนึ่งเท่านั้นเอง เวลาวัตถุเคลื่อนที่ก็จะมีระยะเป็นตัวบอกระยะทางใกล้ไกลเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ แต่ในมิติของหุ้นนั้น ระยะก็คือปริมาณที่ราคานั้นขึ้นหรือลง แล้วก็มีคาบเวลาติดมาเสมอ หมายความว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไปเราสามารถจะวัดปริมาณการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ 2 จุดอ้างอิงใดๆ  ในทางกลับกัน เรื่องของฟิสิกส์ มันก็คือความเร็วนั่นเอง

ตัวอย่างเช่น
หุ้นราคา 2.50 บาท วันต่อมาขึ้นมาเป็น 2.55 บาท แสดงว่า 1 วันผ่านไปปริมาณราคา ขึ้น/บวก 0.05 บาท แปลความได้ว่า หุ้นตัวนี้มีความเร็ว +0.05 บาท/1 วัน [ต้องกำหนดเครื่องหมายด้วย เนื่องจากเป็นปริมาณทาง vector ต้องมีทิศทาง]

มาดูอีกตัวอย่างหนึ่ง หุ้นราคา 5.00 บาท ผ่านไป 1 เดือน (~20 วันที่ตลาดหลักทรัพย์เปิดการซื้อขาย) ราคาเป็น 4.00 บาท แสดงว่า 20 วันผ่านไปราคา ลง/ลบ 1.00 บาท แปลความได้ว่าหุ้นตัวนี้มีความเร็ว -1.00 บาท/20 วัน  เท่ากับ -0.05 บาท/1วัน

สรุปได้ว่าจริงๆการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยของทั้ง 2 หุ้นนี้เท่ากันแต่ทิศทางต่างกันเท่านั้นเอง

ปล. นี่เป็นตัวอย่างที่คำนวนอย่างง่ายสุดเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จริงๆแล้วการขึ้นลงของราคาหุ้นจะใช้วิธีการลบแล้วหารแบบง่ายนี้ไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมเท่าไหร่ วิธีการวันระยะของการเคลื่อนที่ของราคาจริงๆนั้นต้องใช้หลักการ “Periodic return” หรือ Continuous Compounding ที่จะใช้ logarithm คิดเป็นสัดส่วนแทน เนื่องจากในทาง finance “ราคา” เป็นอัตราทบต้น เรามักจะใช้คำว่าเติบโตหรือ หดตัวเนื่องจากโลกทางการเงินเราดูที่อัตราส่วน %” เป็นหลัก ไม่ใช่ปริมาณเพียงอย่างเดียว หรือ ราคานั้นเติบโตแบบอัตราทบต้นนั่นเอง

ทีนี้ก่อนเราจะเข้าเรื่องกัน ผมอยากให้ลืมหลักการต่างๆไปให้หมดก่อน แล้วก็ค่อยๆคิดตามนะครับ

การซื้อหุ้น เป้าหมายของทุกคนนั้นแทบจะเรียกว่าเหมือนกันหมดทั้ง 100 % ไม่ว่าจะซื้อกินปันผลอย่างเดียวหรือไม่ก็ตาม มันจะกลับมาที่พื้นฐาน คือ เราซื้อหุ้นแล้วต้องการให้หุ้นขึ้น แค่ หุ้นขึ้นได้กำไร มันเท่านี้เอง ไม่ว่ามันจะเป็นหลักการลงทุนใดๆในโลกนี้ มันก็แค่ทิศทางที่ได้กำไรเท่านั้นแหละ
ผมถามว่าถ้าเป็นไปได้เราจะซื้อหุ้นแบบไหน ....== แน่นอนอยู่แล้ว ถ้ามีหุ้นทั้งตลาด 600 ตัว เราย่อมต้องการหุ้นที่ขึ้นแค่นั้น! ถูกไหมครับ เพียงแต่มันดันมีหุ้นเยอะเกิน ก็จะต้องมาเลือกและเปรียบเทียบกันก่อน... หุ้นขึ้นเนี่ย มันก็ขึ้นเป็นร้อยๆตัวต่อวัน เมื่อมันดันมีตัวเปรียบเทียบ เราก็ต้องซื้อหุ้นที่ขึ้นแล้วเรายังต้องการอัตราการเคลื่อนที่ขึ้นที่เร็วที่สุดด้วย จะได้กำไรทันที และได้เยอะด้วย จริงไหมครับ

ไม่ต้องมีความรู้อย่างอื่น เราเพียงแต่ลองใช้สูตรอย่างง่ายข้างต้นมาคำนวน ซึ่งเราต้องการเพียงราคา ณ ตำแหน่งใดๆของ 2 จุดของเวลา( 1 คาบ) กี่วันกี่แท่งก็ว่ากันไป หาความเร็วในการเปลี่ยนแปลงราคาที่เป็นบวกเยอะที่สุด ง่ายๆแค่นี้ เราก็จะรู้แล้วว่าหุ้นในตลาด 600 ตัว ตัวไหนวิ่งไวที่สุด จับมาเรียงกัน  เราแค่ต้องเลือกตัวที่วิ่งไวที่สุด ....

แต่ปัญหามันก็เกิดขึ้น => อัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่คำนวนได้นั้น ต้องนำราคาที่เกิดขึ้นก่อนแล้วในอดีต => แล้วเราจะรู้ได้ยังไง? => เราดันมาซื้อตอนที่ราคามันขึ้นไปแล้วนะ? =>  เราจะมั่นใจได้ยังไงว่า ราคาจะขึ้นต่อไปตามที่เราคำนวนไว้? => แล้วมันจะยังคงวิ่งไปในอนาคตทิศทางเดียวกับ อดีต”? => มันเป็นไปได้ยังไง ?

แล้วนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของ ทฤษฎี Momentum อันเป็น premiere market anomaly ที่ถูกพิสูจน์มานับร้อยปี และมันก็ยังคงอยู่ บางงานวิจัยยังบอกด้วยว่า มันอาจจะเป็น anomaly สุดท้ายที่ยังคงประสิทธิภาพอยู่

Momentum หลักการง่ายๆที่ฟังกันจนเบื่อคือ หุ้นที่ขึ้นอยู่มันก็ยังคงทิศทางขึ้นต่อไป หุ้นที่ลงอยู่มันก็ยังคงทิศทางลงต่อไป

เรามาลองพิสูจน์ด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องมี indicator ไม่ต้องมีตัวแปรอะไรเลย โดยซื้อทุกวันที่ 1 ของเดือน ถือแล้วขายในวันสุดท้ายของเดือน เริ่มต้นเดือนใหม่ก็เหมือนเดิม ซื้อวันที่ 1 ขายสิ้นเดือน ทำแบบนี้ไปทุกเดือน โดยเลือกหุ้นจากวิธีการง่ายๆ เรียงลำดับราคาหุ้นที่ขึ้นไปเยอะที่สุดในช่วงเดือนที่ผ่านมา แล้วไล่ซื้อตั้งแต่ตัวที่ 1 (ราคาบวกเยอะที่สุดใน 1 เดือนที่ผ่านมา) ตัวละ 5% ของเงินทุนเรา (มันก็จะได้ราวๆ 20 ตัว +-)

กำหนดให้
-เงินทุนเริ่มตั้น 1 ล้านบาท
-ซื้อตัวละ 5 %ของเงินทุน ณ เวลานั้น (ได้กำไรมาก็ทบต้นไป ขาดทุนก็เสียไป ไม่มีการถอนออก ไม่มีการเติมเงินเพิ่ม ไม่มีปันผล มีมากเท่าไหร่ เหลือน้อยเท่าไหร่ ก็เล่นตาม %)
-จำกัดปริมาณหุ้นที่จะซื้อ โดยซื้อได้ไม่เกิน 10% ของ volume ของหุ้นตัวที่จะซื้อ ในวันก่อนหน้าที่จะซื้อ(หรือวันสิ้นเดือนสำหรับบทความนี้) ถ้าไม่เกินก็ซื้อตาม 5% ของเงินทุน ถ้าเกินก็ซื้อ 10% ของ volume ที่เหลือเอาไปซื้อตัวถัดๆไป
-ค่า commission 0.25% ต่อคำสั่ง
-ซื้อราคา open ของวันที่ 1 ของทุกเดือน
-ขายราคา close ของวันทำการวันสุดท้ายของเดือน
-Test ตั้งแต่วันที่ 1 ปี 1990 จนถึงวันที่ 1 ปี 2015 เป็นเวลา 25 ปี


เรามาดูผลในแบบที่ไม่ได้ปรับตัวแปรใดๆ 




เราจะเห็นว่า เริ่มต้นลงทุน 1 ล้านบาท 25 ปีผ่านไป จะโตเป็นเงิน 158.9 ล้านบาท (หักค่า comแล้ว 21.4 ล้านบาท)

มีอัตราทบต้นที่ 22.47% ต่อปี 
MaxDrawdown เงินทุนตกต่ำสุดที่ -73.73%

โดยซื้อ-ขายหุ้น 10516 ครั้ง คิดเป็นจำนวนหุ้นที่กำไร 46.55% และ หุ้นที่ขายขาดทุน 53.45% (ราวๆครึ่งๆ)

สรุปง่ายๆคือ เราค้นพบความเป็นไปได้ของทฤษฎีนี้ 25 ปี มันสามารถพาเรามาถึงจุดนี้ได้ ด้วยวิธีที่แสนง่ายดาย ไม่ต้องใช้การวิเคราะห์ใดๆเลย นั่นแสดงว่าช่องโหว่ของการทำกำไรด้วยวิธีนี้นั้นมีความเป็นไปได้   แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งของหุ้นที่ซื้อขายกันกว่า 10000 ครั้ง ที่ราคาจะขึ้นต่อไปตามทฤษฎี เห็นแล้วก็บอกได้ว่ามันไม่ใช่การทำนายที่ดี พอๆกับโยนเหรียญหัวก้อย  แต่สิ่งที่แปลกคือ อัตราส่วน payoff นั้น เฉลี่ยการขึ้นของราคา นั้นมากกว่า เฉลี่ยการลงของราคาหุ้น อยู่ถึง 1.77 เท่า คือต่อให้เดาผิด ก็จะขายขาดทุนไม่เท่าไหร่(เฉลี่ย -12.28%)  ในขณะที่กำไรก็จะได้มากกว่า (เฉลี่ย +20.92%)

ถามว่าทำไม? ทำไมมันเป็นแบบนี้? ไม่รู้เหมือนกัน  ไม่รู้ทำไม ....มันคือความผิดปกติของตลาด มันคือช่องโหว่ หรือ anomaly ที่ทำให้พวกเรายังกำไรได้ ด้วยวิธีบ้านๆนี้... ถ้ามันไม่มี payoff ตรงนี้แล้วหละ ก็จะตอบได้แค่ ทฤษฎี momentum มันก็จะอวสานไป แค่นั้น เราก็ไม่อาจทำกำไรได้อีกต่อไปจากวิธีนี้

เดี๋ยวเราจะมาประยุกติ์กันต่อใน part 2 เพื่อให้มันสมจริงยิ่งขึ้น และปลอดภัยในทางจิตวิทยา

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

03/08/2015 - 31/08/2015 review August



SET เดือนที่ผ่านมาก็ยังคงภาพรวมเป็นขาลงต่อเนื่อง ช่วงที่การเกษตรย่ำแย่ยิ่งลงหนัก ประกอบกับส่งออกก็ยังแย่กว่าเดิม ยิ่งรวมไปถึงจีนลดอัตราค่าเงิน ระเบิดอีก ดิ่งแล้วดิ่ง


อันนี้ถ่ายมาจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ เห็นว่ามีประโยชน์ดีเลยเอามาให้ดูกัน (รวมพลข่าวลบทั้งหลาย) ก็ค่อนข้างตอกย้ำ SET และ ดัชนีทั่วโลกก็วิ่งไปทางเดียวกัน 



P/E SET อยู่ที่ 18.21 ถ้าเทียบกลับไปที่ปี 2008 วิกฤตตอนนั้น ทิ้ง SET ดิ่งน้ำไม่มีอะไรดีสักอย่าง ต่อมาปี 2009 SET index ขึ้นทั้งปี ก่อนที่เศษฐกิจจะประกาศตัวเลขผลประกอบการซะอีก ลาก PE ขั้นไปสูงลิบๆ แต่เพราะตลาดหุ้นเคลื่อนที่ด้วย ความคาดหวัง หรือ การประเมินอนาคตของนักลงทุน  ต่อให้ PE จะสูงขนาดไหนมันก็ไม่สำคัญ พอปี 2010 ผลประกอบการส่วนใหญ่ดีก็ไปเปลี่ยน PE เอง  

SET ยั่ง trade กันใต้น้ำ RSI ก็ยังบอกว่ามีโอกาสลงมากกว่าขึ้น เนื่องจากเล่่น breakout Trend following ไม่เห็นสัญญาณให้ขาขึ้นชัดๆเลย ต่อให้วันสองวันนี้ rebound แรง น่าสนใจแต่ไม่น่าซื้อ รออีกสักหน่อยให้มันขึ้นไป trade เหนือค่าเฉลี่ยก็ดี RSI ขึ้นไปยืนลมบนสัก 60-70 ก็ดี หรือจะมี FT day ก็ได้ ถ้ายังไม่มีสัญญาณดีๆ แบบนี้เข้าไป"เสี่ยง"เกิน

ตอนนี้มองอนาคต แบบสองแง่สองง่าม 

เอาระยะสั้นก่อน ก็ยังแทงขาลงอยู่ เนื่องจากเอาจริงๆ สินค้าเกษตร ยังอยู่ใน zone ขาลง ขนาดเราอยากจะปลูกมันสัมปะหลังกับอ้อย ยังเบรคความคิดนี้อยู่เลย  ที่บ้านทำธุรกิจเหล็กแปรรูปก็ซบเซา เพราะจีนลดการนำเข้า ก่อนนี้พี่จีนซื้อเรียบแถวบ้านขายเหล็กก็ซื้อตั้งแต่ต้นซอยยันท้ายซอย ตอนนี้แห้งแล้ง Demand ตก ราคาก็ตก รอแต่โครงการรัฐบาล แต่ถ้าให้เทียบกัน ระหว่างจีนซื้อ VS รัฐบาลซื้อ  พละกำลังมันต่างกัน จะให้กลับไปเหมือน 5 ปีที่แล้วคงไม่ได้ขนาดนั้น 

เอาระยะยาวบ้าง มองให้ไกลกว่านั้นในแง่ของโลจิสติก บวกกับเปิดการค้าเสรี AEC รวมไปถึง AEC ของเรายังยืนตำแหน่งอาหารโลก เมื่อเอาทั้งโลกมาเทียบ จุดเด่นเรามันอยู่ที่พื้นที่เพาะปลูก การเกษตร  ระยะยาวในอนาคตดินแดนขวานทองนี้เราก็มอง bullish อยู่ดี  ไอ้ที่จะขาดไม่น่าใช่น้ำมัน  แต่จะขาดอาหารเนี่ยแหละ ประชากรโลกมันเยอะ

Leading system แดง(ลืมไปแล้วว่ามันเคยเขียวรึเปล่า)


Port ยังคงเป็น robot 100% มีแต่ขายแล้วก็ขาย ช่วงเดือนนี้ทำธุรกิจอื่นด้วย ไม่ค่อยมีเวลาเล่น net เลย แต่ก็ตามอยู่เรื่อยๆ มีความคิดว่าอยากจะเอา EPS เข้ามา review ทุกเดือนด้วย น่าจะดี  plan คงไม่มีอะไรใหม่ รออย่างเดียว นานแค่ไหนก็รอ Bearish market ไม่ได้มีแค่ไทย ทั้งโลกก็ไปในทางเดียวกัน แบบนี้ใจเย็นๆ คิดว่า exposure 30% กำลังดี หยั่งเชิงไปก่อน DD ยังอยู่ที่เดิมไม่ไปไหนสักที

Review August



มาดู momentum เดือนนี้ limit upside มาก พวกที่ขึ้นมาเดือนนี้ไม่ได้พา momentum มาก่อนเลย ขึ้นแบบยิงพลุ 3-4 วัน 20% แบบนี้ยอม


PK พักการซื้อขายมา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2010 ขึ้นตอบรับกับเหตุการณ์ปัจจุบันหน่อย


CPR พลุ = = ! ไม่เห็นงบการเงินจะน่าตื่นเต้นตรงไหนเลย



AJD ราคาเด้งเล็กๆ เริ่มต้นได้ดี



FVC ข้ามไป พวกจุดพลุ


HFT แรงเก็งกำไรสูงมาตลอด แบบนี้เสี่ยง เลยหยอดไปไม่ถึง 1%


THIP สภาพคล่องห่วย


ASIMAR พอไปวัดไปวาได้ แต่พึ่งตัด MA ไม่นานตอนนี้รอดู ถ้าทำลาย high ที่ 4.00 พร้อม vol ได้ก็น่าตาม



GLOBAL ร้อนแรง ตัวนี้รอดู เพราะตั้งแต่ปี 2013 ก็ยังเป็นภาพรวมขาลง

NEW ไม่มีสภาพคล่อง


APCS ถึงขึ้นมา vol ก็ไม่มี ยังห่าง high เดิม รอดูก่อน


THE ทรงกราฟค่อนข้างแข็ง คล้ายๆ Davas box จำนวนวันที่หุ้นลงน้อยมาก RSI เลยติดลมบน งบห่วย


GL ถ้ามองกราฟ week มันจะสวยมาก ยิ่งกราฟ month ยิ่งงาม break high เดิมได้อย่างสวยหรู แต่ภายในผันผวนมาก ใครถือยาวได้จะไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับ DD 20%+- เลย



TAPAC ตัวนี้เกาะ trend ตั้งแต่เดือนที่แล้ว มีสัญญาณทำจุดสูงสุด หมดรอบ รอดู



NUSA รอดูถ้า trade เกิน 1.00 ค่อยตาม


SUPER โอ้ว ตำนานเมื่อ 2 ปีก่อน พึ่งจะ trade พ้นน้ำเอง 



STAR อีกตัว กราฟ week สวย กราฟ Day โหด ยังเกาะ trend อยู่ ถือว่าแข็งพอสมควร



ECL downtrend มานาน เด้งเดียวไม่น่าสนใจ


BH เทพ!! เทพสุดในสามโลก ผู้รอดชีวิตในขาลง รพ.บำรุงราษฎร์ หมอเก่ง พยาบาลสวย ค่ารักษาโหด และไม่มีปัญญาไปสมัครงาน ต้องยอม ถ้านับตัวที่มี trend + กำลังทำลาย All time high ต่อเนื่อง ก็จะเป็นรอง TASCO,STAR,VNG,GL,ARROW,UNIQ แต่ถ้ารวมเอาที่เกาะเหนือค่าเฉลี่ยได้ ก็จะเป็นรองแค่ UNIQ เท่านั้น!

ที่เหลือไม่มีอะไรน่าสนใจแล้ว


FORTH ปิดเกมโหดมาก


UNIQ ปิดท้ายเดือนไม่ได้เยอะเท่าไหร่ แต่ RS แข็ง เลยไม่พูดไม่ได้ 


TVO RS แข็งเหมือนกัน แต่วันก่อนถ้าจะเหวี่ยงแรงขนาดนี้ก็เอาเงินไปเลย


TASCO ไม่ติดอันดับเดือนนี้เนื่องจากไม่ไปไหนเลย แต่ถือว่า RS แข็งเมื่อเทียบกับตลาด