วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

21/04/2015 เรื่อง Momentum





*review ตัวที่ซื้อไปวันที่ 16-17/04/2015

SET ยังคงเด้งไปๆมาๆ ถ้าดูกราฟราคาเฉยๆดูเหมือนไม่ได้ไปไหน แต่ถ้าดูในรายละเอียด RSI แกว่งมาเหนือ 50 จากสูตรตั้งต้นของ RSI อย่างง่ายก็คือ average gain หารด้วย (avg gain + avg loss) ค่า 61 ตอนนี้แปลความได้ว่าที่ราคาแกว่งไปมานี้มีแนวโน้มขึ้นมากกว่าลง --> จะช่วยเราได้มากหาก หุ้นรายตัวส่วนใหญ่สอดคล้องไปในทางเดียวกันกับ RSI ของ SET index --> กล่าวคือ วันที่ SET index ลง รายตัวใน port จะโดนถล่มด้วย แต่สัดส่วนที่ลงจะน้อยกว่าวันที่ SET index ขึ้น รายตัวส่วนใหญ่ควรบวกมากกว่าวันที่โดนถล่มลงมา  (อธิบายยากจัง - - แต่มีวิธีพิสูจน์สมมติฐานของคำพูดข้างต้นทางสถิติด้วยนะ ว่างๆจะพิสูจน์ลงใน blog เผยแพร่ไว้ก็ดีเหมือนกัน) 

Leading เหลือง (ปริ่มๆน้ำอยู่ ถ้าขึ้นต่ออีกสักวันสองวันก็ดี จะได้ไฟเขียวสักที แบบนี้กลัว)


Port จริงๆวันนี้ไม่ได้ซื้อขายอะไรเพราะ exposure เต็มมือแล้วอีก 1% เก็บไว้ ยังคง DD ที่เป็นไปได้ที่ 25%+- รอตลาดนำทาง


ปล.ช่วงที่หยุดเที่ยวไป เมืองจีนกว้างใหญ่มากทำให้เดินทางที 4-5 ชม. ประกอบกับช่วงนี้คิดวนเวียนอยู่ในหัวตลอดเลยเรื่อง "ความมีประสิทธิภาพของตลาด" หรือ "Efficient Market Hypothesis" ยิ่งอ่านหนังสือคุณมดไปยิ่งตอกย้ำลงไปอีก คร่าวๆก็จะมี

-small cap
-low PE 

-low PBV
-surprising new with vol support in price chart
-reversal of price during long run
-momentum
-52wk anchoring effect

ซึ่งในต่างประเทศมีงานวิจัยมากมายเพื่อมาหักล้างสมมติฐานข้างต้น เป็นต้นเหตุของกำไรมากมายในตลาดหลักทรัพย์ 
ด้วยความสนใจทำให้โหลดงานวิจัยล่าสุดมาอ่านดู มีอยู่สองงานที่น่าสนใจคือ Fama&French และ Israel&Moskowitz เล่าเรื่องของ momentum แบบน่าสนใจมาก ทำให้ต้องกดซื้อหนังสือ Momentum strategy จาก kindle มาอ่านเพิ่มเติมเลยทีเดียว ที่น่าสนใจคือ 

Momentum อธิบายง่ายๆคือ "ราคาที่เคลื่อนที่ขึ้นอยู่ก็มักจะขึ้นต่อไป ราคาที่เคลื่อนที่ลงอยู่ก็มักจะลงต่อไป" (คล้ายๆกับ Dow Theory)


1) Momentum ณ วินาทีนี้ถือเป็น "Premier Market Anormaly" อาจจะเป็น Anormaly สุดท้ายที่หลงเหลืออยู่ จากการศึกษาตั้งแต่ปี 1801 มันยังคงประสิทธิภาพจนปัจจุบัน และค้นพบ anormaly ในแทบทุกตลาดทางการเงิน ในขณะที่ factor อื่นๆเริ่มหมดความสำคัญลง


2) Correlation หรือความสัมพันธ์ของตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเริ่มมีความสอดคล้องกันมากกว่าแต่ก่อนมาก หรือพูดได้ว่ามันมักจะวิ่งไปในแนวทางเดียวกันมากกว่าแต่ก่อน ส่งผลให้การ diversified ตลาด หรือ asset allocation ทำได้ยากขึ้นและ ประสิทธิภาพในการทำกำไรน้อยลง 


3) ถึงอย่างไรก็ตาม Asset allocation เป็นกลยุทธที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่ม sharp ratio ของกราฟ equity ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (พูดง่ายๆคือ ลดความผันผวนของเงินทุนของเราขณะลงทุนไม่ให้ขึ้นลงหวือหวาจนเกินไป)


4) Small-cap anormaly เริ่มหมดความสำคัญลงอันเนื่องมาจาก Highly illiquid หรือสภาพคล่องที่ยากแก่การ entry และ exit รวมไปถึงความง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลไม่เหมือนแต่ก่อน ทำให้หุ้นคุณค่าที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักถูกเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น เปิดเผยมากขึ้น  พิสูจน์ในงานวิจัยของ Israel&Moskowitz(2013),Fama&French(2008),Schwert(2002),Shumway&Warther(1997) ในงานวิจัยยังมีการตอกย้ำถึงการคงอยู่ของ momentum 


5) U.S. stock ยังคงให้ผลตอบแทนเหนือ non-U.S. stock อย่างมีนัยยะสำคัญ (ข้อมูลถึงปี 2014 งานวิจัย Global Equities Momentum ของ Gary(2014)) [จริงหรอเนี่ย? = =] 


ไว้มาต่อดึกแล้วคืนนี้ มีอะไรมาแชร์เพิ่มคราวหน้านะครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น