วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Brief Technical Analysis

เนื่องจากใช้ศัพท์ technique เยอะ แล้วก็เป็นคนที่เขียนไม่ค่อยรู้เรื่อง คิดได้ก็เขียน อาจจะสั้นๆห้วนๆไปหน่อย

เรื่อง price pattern  ส่วนตัวใช้บ่อย
[แนะนำ Reference จาก http://wafiqfx.com/chart-patterns-dan-candlestick-patterns/  สั้นดี]

กระบวนการวิเคราะห์จะไล่ตามนี้   Price Pattern --> candlestick(หรือไปเปิด intraday) --> +-Volume

1) Price Pattern : รูปแบบราคา จริงๆทุกศาสตร์ของ Technical analysis เริ่มมากจาก รูปแบบราคาทั้งสิ้น อย่างการทำลายแนวต้านแนวรับ มันก็มักที่จะ form ตัวในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งให้เราเห็น พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นการแสดง "ขึ้น" หรือ "ลง" ของราคา

Trend line เส้นตรงต่างๆที่ลากใน chart เป็นเพียงแนวการเคลื่อนที่ของ ราคา ที่เราคิดว่ามีนัยยะ ส่วนผิด หรือ ถูก ไม่ต้องไปสนใจมาก มันขยับได้ตลอดเวลา อย่าไปเอาเป็นเอาตายมาก

Price pattern มีชื่อเรียกที่เราเรียกใช้ดังนี้

(Ref : http://wafiqfx.com/wp-content/uploads/2013/03/Chart-Pattern-2.jpg )


ที่สำคัญคือการเปลี่ยน direction หรือกลับทิศทางขนาดใหญ่ มันจะเกิดทีเดียววันเดียวไม่ได้ มันต้องมีคนส่วนใหญ่เห็นพ้องให้ไปในทางนั้นด้วย

เมื่อถึงจุดที่เกิดการแตกแยกของความคิดต่าง ที่มีนัยยะสำคัญ  (หรือแนวรับแนวต้านอะไรทำนองนั้น)  มันจะออกอาการที่ไร้แนวโน้มให้เราเห็นอยู่พักหนึ่งก่อน  จากนั้นส่วนโหญ่จะบีบตัว จากความไม่แน่ใจ หรือประเภท "รอดูก่อน" "รอให้เกิดสัญญาณใดสัญญาณหนึ่งก่อน" --> ทีนี้ต้องอาศัยผู้เริ่มต้น ซึ่งต้องเป็นคนส่วนน้อย มาสกิดตลาด ณ เวลานั้น --> ส่งผลต่อเนื่องไปถึงราคา --> ราคาที่รอการเคลื่อนไหว มันก็เคลื่อนที่ไป สกิด อะไรบางอย่าง เส้นต่างๆ , indicator , signal ใดๆ , องค์ความรู้ใดๆ ,พื้นฐาน ฯลฯ มันก็เกิดการ action ไปตามความเชื่อของนักลงทุน จากสาขาต่างๆ   ว่าจะ ซื้อ - ถือ - ขาย --> ก็จะส่งผลต่อการเคลื่อนที่ราคาอีกครั้ง

แต่ มันไม่จำเป็นที่ เกิดรูปแบบ A แล้วมันต้องกลับตัว รูปแบบ B มันจะไปต่อ เพราะมันไม่ใช่ตายตัวแบบนั้น   หากความคาดหวังของนักลงทุนจำนวนนั้นมีไม่มากพอ(ไม่ใช่ส่วนใหญ่ หรือ ส่วนน้อย จริงๆ) หรือ มีมากพอแล้ว แต่เกิดเหตุการณ์ที่คนส่วนใหญ่ไม่คาดคิด (Under/OverExpected)  มันก็ form รูปแบบใหม่ หลังจากนั้น นักลงทุนก็จะ reaction ใหม่ ก็จะกลายเป็น pattern ใหม่ต่อไป ไม่สิ้นสุด

ความเห็นส่วนตัวคือ มันไม่ใช่ signal ไว้มาฟันธง แต่มันเป็นการหาความน่าจะเป็นที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้
เช่น

ตำราส่วนใหญ่จะเขียนว่า เกิด pattern A มีโอกาสจะ "ไปต่อ" หรือ "กลับตัว"อย่างใดอย่างหนึ่ง (B)


กระบวนการคิดแบบนี้ ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ Under/OverExpected แล้ว ไม่รู้จะทำไงต่อ


แต่จริงๆแล้ว Pattern นั้นสามารถแสดงให้ได้หลายเหตุการณ์ในอนาคต


แค่นั้นก็ยังไม่พอ เนื่องจาก pattern จะ form ตัวใหม่ได้อีก เช่น double top ชนแนวต้านอีกครั้งก็เป็น triple top แล้ว  เราก็ต้องคิดความน่าจะเป็นที่พอเป็นไปได้ในอนาคต


จะเห็นว่าจริงๆแล้วไม่สำคัญเลยว่าเราเห็น double top หรือ cup-handle กันแน่ สำคัญที่มันเป็นจุดที่มีนัยยะสำคัญต่อคนหมู่มากรึเปล่า


2) Candlestick pattern  : มันไม่ได้แม่นยำอะไรเลย แต่หากจะศึกษา intraday หรือ อารมณ์ตลาดรายวัน ก็ต้องเข้าไปดูใน intraday เชื่อว่าทุกคนที่เล่น intraday หรือแค่เปิดดูเท่านั้นก็ได้ เช่นอย่างเราเองก็มีอารมณ์ไปกับมันทุกครั้งที่เปิดดู  เมื่อมีความกลัว/ความคาดหวัง --> ย่อมส่งผลต่อการ action ใดๆไม่มากก็น้อย

แต่ intraday ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในกราฟรายวันทั้งหมด แต่บันทึกเป็น ข้อมูล Open High Low Close จริงๆมันเป็น sequence ของราคา หรือมีลำดับเวลาอยู่ open มาก่อน close เสมอ แต่ Low/High เราไม่รู้อะไรมากก่อนหลัง หากมันไม่ใช่ค่าเดียวกับ open หรือ close  

มีชื่อเรียกที่เราเรียกใช้ดังนี้

(Ref : http://wafiqfx.com/chart-patterns-dan-candlestick-patterns/ )

เวลาดูก็พยายามแปลความหมายภายใน เช่น

แปลความหมายจากแท่งนี้   เนื่องจากมันเป็น sequence ของราคา


คิดคร่าวๆได้ ก็แสดงว่าเปิดตลาดมาราคาสูงขึ้น แล้วก็โดนเทขายลงมา เลยมาปิดต่ำ
เค้าก็เลยสรุปว่า ราคามีแนวโน้มลงต่อ เพราะมันขึ้นไม่ไหว


แต่ความจริงมันอาจจะผันผวนแบบนี้ก็ได้ ซึ่งอาจไม่มีนัยยะอะไรเลย

จะเห็นว่า price pattern ก็นำมาสร้างเป็น candlestick ได้เช่นเดียวกัน


เสนอเป็นอีกมุมมองนึงเล็กๆตรงนี้ ทุกอย่างเป็นเรื่องเดียวกันทั้งนั้นเลย

3) Volume  เป็นการหาความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่ของราคา กับ ปริมาณการซื้อขาย จริงๆปัจจัยของการขึ้นลงของราคา ไม่จำเป็นต้องมี Volume เลยก็ได้
การไม่มี Vol ราคานึกถึงการไม่มี bid offer  ราคาจะขึ้นแรงๆ ลงแรงๆ เร็วๆ หรือ จะไม่เคลื่อนไหวเลยก็ได้
แต่ตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ราคา หรือ Volume นั้นสัมพันธ์กัน แต่ไม่ใช่สัมพันธ์ในทางที่ หุ้นขึ้นต้องมี vol ดัน หุ้นลง vol น้อย ไม่น่าจะลงจริง  หรือ ราคตก แล้ว Vol เยอะมาก แสดงว่า คนขายเยอะ อันนี้อาจจะจริงและไม่จริง เพราะคนซื้อ กับ คนขาย ย่อมเท่ากัน เรื่องนี้น่าศึกษาหัวข้อ Volume spread analysis หรือ Price&Volume analysis ไว้ค่อยมา discuss
(Ref: The Secret Science of Price and Volume , Timothy Ord)

4) Indicator คือการนำ Input ข้อมูล primary หลัก มาเข้าสูตรทางคณิตศาสตร์ เพื่อค้นหาข้อมูลจำเพาะต่างๆ เหมือนเช่นที่เราพยายามหา ค่าเฉลี่ยเกรดของผลการเรียนเพื่อวัดความสามารถของเราเทียบกับคนอื่น indicator ก็เช่นกัน



ของเรามีแค่ MA (moving average) ,RSI ,Ichimoku Cloud(นำมาทำเป็น stop loss และ filter trend ไม่ได้โชว์ให้ดู มันรกไป) นอกนั้นก็ศึกษาไว้ แต่ไม่ชอบนำมายำรวมกันเท่านั้นเอง

จากหนังสือ The E-Book of Technical Market Indicators

(Ref: The E-Book of Technical Market Indicators , WallStreetCourier.com )
work flow สำหรับ Trend following ง่ายๆที่เราควรทำความเข้าใจคือ ทุกอย่างเริ่มจากการหา trend ก่อน ว่าภาพใหญ่มันวิ่งไปทางใด แล้วจึงหาจังหวะในการเข้าซื้อ

ก็แนะนำเท่านั้นนะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น