วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

Maximum Favorable Excursion (MFE)

Maximum Favorable Excursion (MFE)
หลังจากที่เคยพูดไปเรื่อง MFE MAE ไปนิดหน่อย เราเองก็ลืมไปว่ามันอาจจะเป็นศัพท์ใหม่ไม่ควรเขียนลอยๆออกมา ก็ตั้งใจอธิบายเล็กๆตรงนี้นะครับ คำแปลก็คือ

MFE = Maximum Favorable Excursion
คือ ช่วงราคาที่เคยกำไรสูงที่สุดนับตั้งแต่เข้าซื้อ(หรือ short)

MAE = Maximum Adverse Excursion
คือ ช่วงราคาที่เคยขาดทุนสูงที่สุดนับตั้งแต่เข้าซื้อ(หรือ short)

อธิบายเป็นรูปให้เข้าใจง่ายๆดังนี้




ตัวอย่างในรูปนี้คือ เมื่อเราเข้าซื้อหุ้นตัวใดแล้ว ย่อมเกิดการแกว่งของราคาก่อน มีทั้งขึ้นและลง ในหุ้นเวลาเราเข้าซื้อก็ต้องหวังให้หุ้นขึ้นได้กำไร ทิศทางการขึ้นของหุ้นก็จะเรียก Favorable ในชื่อนั่นเอง แต่ก็ต้องมีช่วงที่หุ้นที่เราซื้อนั้นราคาลดลงด้วยเช่นกัน ถ้าหากว่าเราไม่ cut loss ทิ้ง Position ไปซะก่อน เราก็จะเรียกทิศทางการลดต่ำลงของราคาว่า Adverse  เพราะฉะนั้นเมื่อเราขาย หรือ ปิด position เราก็จะได้กำไร ณ ตำแหน่งขาย ลบด้วย ตำแหน่งที่เข้าซื้อ ส่วนต่างราคาตรงนี้ก็จะกลายมาเป็น กำไร(หรือขาดทุน)

ทีนี้ผมจะนำเสนอวิธีการใช้ 1 วิธี ซึ่งจริงๆมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากในกลุ่มนัก trade แล้วก็มีกลยุทธ์มากมายที่อาจไม่ได้พูดถึง เอาเป็นไอเดียที่มาแชร์กันนะครับ ว่างๆจะนำมาแชร์อีก

ค่าเหล่านี้เก็บได้จากสถิติธรรมดา โดยหลังปิด Position ก็บันทึกไว้ หรือใช้ computor ทดสอบระบบการลงทุน ซึ่งโปรแกรมก็จะแสดงค่านี้ออกมา เมื่อรวบรวมได้ครบ เราจึงมาหาความสัมพันธ์ของค่าต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น หรือนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นกลยุทธ์อีกทีหนึ่ง สำหรับคนไม่สันทัดคณิตศาสตร์ ผมจะค่อยๆอธิบายนะครับ ไม่ยากอย่างที่คิด

ผมได้ทดสอบ 1 ระบบการลงทุนแบบ breakout ธรรมดาที่ผมใช้อยู่ มันสามารถสร้างผลตอบแทน 30% ต่อปี และมี MaximumDD ที่ 25% เป็นเวลา 15 ปี ตั้งแต่ 2000 ถึง 2015 ในที่นี้จะไม่พูดถึงรายละเอียดอื่น จะขอนำเอา %profit/loss หรือ กำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงหลังปิด Position ไปแล้ว กับค่า MFE หรือกำไรสูงสุดที่เคยทำได้ มา plot กราฟความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์  เพื่อมาดูว่าจริงๆแล้ว ระบบที่สร้างกำไรต่อเนื่องสวยงามแบบนี้ เวลาเราขายได้กำไรมาแต่ละตัวนั้น มันเคยสร้างกำไรสูงสุดให้เราได้ชม ก่อนจะตกมาที่จุด stop loss แล้วเราก็ขายออกมาเป็นอย่างไร



เราจะได้หน้าตากราฟเป็นแบบนี้  โดย
แต่ละจุดแสดงการ trade ซื้อ-ขาย 1 ครั้ง
แกนตั้ง (Y axis) = %กำไร(ขาดทุน) ที่เกินจากการซื้อ-ขายนั้นๆ
แกนนอน (X axis) = MFE อย่างที่เราว่ากันไว้

- ลองดูตัวอย่าง 1 การ trade ที่มีค่า MFE แถวๆ 400% ทางด้านขวาของกราฟ จริงอยู่ราคาหุ้นเคยไปทำจุดสูงสุดให้เราได้เชยชมกำไรถึง 380% เลยทีเดียว แต่มันก็มีการวกตัวกลับมาได้ขายก็ได้กำไรจริงๆเพียงแค่ 125% เท่านั้น  -->  ถึงจะน่าตกใจ แต่นี่ไม่ใช่เรื่องแปลกเลยครับ มันเกิดขึ้นบ่อยมากๆ ถึงแม้คำแนะนำที่ว่า "let profit run" หรือ "เราไม่มีทางรู้จุดสูงสุด ปล่อยให้มันวิ่งลงมานิดนึงแล้วค่อยขาย" จะดูฟังง่ายๆ แต่ความเป็นจริงมันช่างทำใจได้ยากยิ่ง ที่เห็นการ trade ได้กำไรสูงถึง 200% แล้วต้องมาขาดทุนในที่สุด  สถิตินี้เป็นสิ่งเตือนใจให้เราอย่างหลงไปกับกำไรสูงสุดของมัน

ทีนี้เราลองมาวิเคราะห์เพิ่มเติม โดยการลากเส้นสีแดง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ กำไร กับ MFE มีค่าเดียวกันพอดี หรือพูดในอีกแบบหนึ่งก็คือ เราขายได้กำไรที่ ณ ตำแน่งสูงสุดที่มันทำกำไรได้สำหรับกลยุทธ์นี้พอดีนั่นเอง ฟังดูวิเศษที่เดียวหากเราทำได้



เราก็จะค้นพบว่า แทบไม่มีการ trade ใดเลยในกลยุทธ์นี้มี่สามารถทำกำไรได้ ณ ตำแหน่งจุดสูงสุด (ตำแหน่งเส้นสีแดง) เพราะฉะนั้น ค่าการ trade เหล่านี้ก็จะอยู่ทางด้านล่างใต้ต่อ เส้นสีแดงนี้เท่านั้น มันเป็น ideal ของระบบ trade เลยทีเดียว ที่จะสามารถขายให้ได้กำไรใกล้ๆกับจุดสูงสุดของมันมากที่สุด

-กระจุกตัวของการ trade ส่วนใหญ่ เราจะสังเกตได้ว่า ตัวที่ long run มีอยู่เพียงเล็กน้อยที่จะได้ กำไร >100% นับตัวได้เลยจากการ trade ถึง 15 ปี ส่วนที่เหลือแทบทั้งหมด ก็ได้กำไรอยู่แถวๆ <50%

ต่อมาเราลอง zoom ดูใกล้ๆ



ผมลากเส้นสีเขียวในแนวนอนเพิ่มขึ้นมาแบ่งการ trade ที่กำไรและขาดทุน โดยเหนือต่อเส้นสีเขียว คือtrade ที่ได้กำไร และใต้ต่อเส้นสีเขียวคือ trade ที่ขาดทุน

- อีกครั้งที่ นี่คือความจริงที่ว่า กลยุทธ์ trend following นั้น ให้ winning rate ที่ต่ำมาก(จำนวนครั้งที่ trade ได้กำไร) ซึ่งค่าสถิติในระบบนี้มี winning rate อยู่เพียง 30% เท่านั้นเอง ที่เหลือ 70% ขาดทุนทั้งหมด 



- แต่สิ่งที่เราสังเหตุได้นั่นก็คือ ถึงแม้ปริมาณการ trade ที่ขาดทุนจะมากถึง 70%  แต่ว่ากลยุทธ์การตัดขาดทุนที่ดีนั้นมหัศจรรย์มาก ที่จะทำให้เวลาขาดทุนนั้นเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือ ไม่เกิน 20% เท่านั้นเอง นอกเหนือจากนั้น ขาดทุนที่มากกว่า 40% เราสามารถนับได้ด้วยตาเปล่าเลยตลอด 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งค่าเฉลี่ยทั้งหมดของ trade ที่ขาดทุนทั้งหมดอยู่เพียง 8-10% เท่านั้น 

- แล้วทำไมระบบถึงยังมีผลรวมเป็นกำไร เป็นเพราะเนื่องจาก มีผลการ trade ที่กินกำไรก้อนใหญ่ๆอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่ง trend following เราหวังผลจากการ trade เหล่านี้(มาก) ผมชอบเรียกมันว่า "Home Run" 



- การพัฒนาระบบใน ideal ก็คือการพยายามให้ผลการ trade โดยรวมขึ้นมาข้ามเส้นสีเขียวให้มีกำไร และ ให้ผลรวมเบ้มาให้ใกล้เส้นสีแดงมากที่สุด เพื่อทำกำไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทิ้งท้าย take home massage สั้นๆนะครับ ไว้มาแชร์เพิ่มเติม

ปล.ยกตัวอย่างอีกสักตัว



- การ trade ในวงกลมสีแดง แสดงให้เห็นว่า หุ้นที่ซื้อตัวนี้เคยมีกำไรอย่างงามถึง 80% แต่ตอนขายนั้นขาดทุนอย่างหนักถึง -20% มันน่าเจ็บใจมากหากเราพบผลการ trade ในชีวิตจริงแบบนี้ เช่นเดียวกับที่ผมได้สัมผัสมันก่อนหน้านี้ในหุ้นตัวหนึ่ง นี่เป็นหนึ่งในสถิติ เป็นความจริงที่เกิดขึ้น แทนที่จะเสียใจหรือล้มเลิกแล้วปรับเปลี่ยนแผนใหม่ๆ เราควรคำนึงถึงผลลัพธ์เหล่านี้ให้ดี ว่าจริงๆแล้ว "เหตุการณ์บางอย่างเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น เพื่อให้เกิดผลต่างๆตามมา"  หรือพูดง่ายๆคือ "การขาดทุนแบบนี้เป็นทางผ่านสำหรับกำไรในอนาคต" เพียงแค่เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่เท่านั้นเอง...

(*ห้ามมีการคัดลอกแอบอ้างบทความเพื่อการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต)

2 ความคิดเห็น:

  1. mfe รูปกราฟที่ลง ระยะมันควรรวม กับ profit ด้วยปะคับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ใช่แล้วครับ เป็นความผิดของผมเองครับ จะรีบแก้ไขอย่างด่วยเลย พึ่งมาเปิดดู ขออภัยเป็นอย่างสูงด้วยครับ

      ลบ